เมนู

ไว้. ความถือผิดอย่างนั้น ไม่ควรถือไว้. ก็ในกรรมใด ภิกษุทั้งหลายแสดง
พระศาสนานอกธรรมนอกวินัย ในกรรมนั้นความเห็นแย้ง ใช้ไม่ได้ เพราะ
ฉะนั้น สงฆ์พึงห้ามเสียแล้วหลีกไป.

[ว่าด้วยองค์ 5 ของภิกษุผู้กล่าวไม่เป็นที่รัก]


บทว่า อุสฺสิตมนฺตี จ มีความว่า ผู้มีความรู้มากมักกล่าววาจา ซึ่ง
หนาแน่นด้วยโลภะ โทสะ และมานะ มีวาจาโสมม ไม่แสดงประโยชน์.
บทว่า นิสฺสิตชปฺปิ มีความว่า ไม่สามารถจะกล่าวถ้อยคำให้สม
แก่ความมีความรู้มากโดยธรรมดาของตน. โดยที่แท้ย่อมอ้างผู้อื่นกล่าวอย่างนี้
ว่า พระราชาได้ตรัสกับเราอย่างนี้, มหาอำมาตย์โน้น กล่าวอย่างนี้, อาจารย์
หรืออุปัชฌาย์ของเราชื่อโน้น กล่าวอย่างนี้, พระเถระผู้ทรงไตรปิฎก พูดกับ
เราอย่างนี้.
บทว่า น จ ภาสานุสนฺธิกุสโล มีความว่า เป็นผู้ไม่ฉลาดใน
ถ้อยคำที่เป็นเงื่อนของเรื่องราว และในถ้อยคำที่เป็นเงื่อนของคำวินิจฉัย.
สองบทว่า น ยถาธมฺเม ยถาวินเย มีความว่า ไม่เป็นผู้โจท
เตือนให้ระลึกถึงอาบัติด้วยวัตถุที่เป็นจริง.
สองบทว่า อสฺสาเทตา โหติ ความว่า ย่อมยกบางคนขึ้นอ้าง
โดยนัยเป็นต้นว่า อาจารย์ของข้าพเจ้า เป็นผู้ทรงไตรปิฎกอย่างใหญ่ เป็น
ธรรมกถึกอย่างเยี่ยม.
วินิจฉัยในทุติยบท พึงทราบดังนี้ :-
ย่อมรุกรานบางคน โดยนัยเป็นต้นว่า เขาจะรู้อะไร.

สองบทว่า อธมฺมํ คณฺหาติ ได้แก่ ยึดถือธรรมที่เป็นฝ่ายไม่นำ
ออกจากทุกข์.
สองบทว่า ธมฺมํ ปฏิพาหติ ได้แก่ ค้านธรรมที่เป็นฝ่ายนำออก
จากทุกข์. . .
หลายบทว่า สมฺผญฺจ พหุํ ภาสติ ได้แก่ กล่าวค้อยคำที่ไร้
ประโยชน์มากมาย.
หลายบทว่า ปสยฺห ปวตฺตา โหติ มีความว่า เป็นผู้อันพระ
สังฆเถระมิได้เชิญ เมื่อภาระอันท่านมิได้มอบให้ อาศัยความทะนงตัวอย่าง
เดียว บังอาจกล่าวในกาลมิใช่โอกาส.
สองบทว่า อโนกาสกมฺมํ การาเปตฺวา มีความว่า เป็นผู้ไม่ให้
ภิกษุอื่นให้โอกาสเสียก่อนก็กล่าว.
หลายบทว่า น ยถาทิฏฺฐิยา พฺยากตา โหติ มีความว่าเป็นผู้
ไม่พยากรณ์ยืนยันความเห็นของตน กลับเป็นผู้งดความเห็น (ส่วนตัว) เสีย
มีความเห็นว่าเป็นธรรมเป็นต้น ในอธรรมเป็นอาทิ กล่าวไม่ตรงตามจริง.

[ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ไม่ควรพูดในสงฆ์]


หลายบทว่า อาปตฺติยา ปโยคํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า
อาบัตินี้เป็นกายประโยค, อาบัตินี้เป็นวจีประโยค.
หลายบทว่า อาปตฺติยา วูปสมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า
อาบัตินี้ระงับด้วยการแสดง, อาบัตินี้ระงับด้วยการออก, อาบัตินี้ไม่ระงับด้วย
การแสดง ไม่ระงับด้วยการออก.